English Skill

แจกวิธีใช้ Adjective กับ Adverb ฉบับเข้าใจง่าย

วิธีใช้ Adjective กับ Adverb

พูดถึงวิธีใช้ Adjective กับ Adverb

แม้ใครบางคนจะว่าภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิด แต่บางเรื่อง ก็ทำให้งงได้อยู่เหมือนกัน หนึ่งในเรื่องที่สามารถทำให้คนสับสนได้ ต้องมีเรื่อง Adjectives และ Adverbs เป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน เพราะบางคำมีหน้าตาเหมือนกัน แต่บางคำก็ใช้ไม่เหมือนกัน แล้วใช้ยังไงกันแน่ ?

51Talk เลยมาแจกสูตร ให้เข้าใจความแตกต่าง ระหว่าง Adjective กับ Adverb ฉบับเข้าใจง่าย บอกทริคให้รู้กันไปเลยว่า คำทั้งสองประเภทนี้ แตกต่างกันอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว มาไขความลับไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

1. ความหมาย

Adjective = คำคุณศัพท์

Adverb = คำกริยาวิเศษณ์

อย่างแรก เรามารู้จักประเภท กันก่อนว่า Adjective และ Adverb คืออะไร

ตัวแรกก็คือ Adjective = คำคุณศัพท์ ซึ่งที่ทำหน้าที่ขยายนาม (noun) หรือเติมเต็มความหมาย ให้กับนามนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อบ่งบอกลักษณะ ให้เราเห็นภาพของนามได้อย่างชัดเจนมากขึ้น แถมบางครั้งยังเติมเต็มประโยค เพื่อบอกความรู้สึกของประธานอีกด้วย

ส่วน Adverb = คำกริยาวิเศษณ์ คือคำทำหน้าที่ขยาย Verb (คำกริยา) Adjective (คำคุณศัพท์) หรือแม้แต่ Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) ด้วยกันเอง บอกเลยว่า เจ้า Adverbs ทำหลายคนเข้าใจผิด และสับสนกันบ่อยมาก แต่จะงงอย่างไร เรามาดูกันต่อเลย

2. หน้าตาของ Adjectives และ Adverbs

เมื่อรู้จักทั้งสองประเภท แล้วก็มารู้จักหน้าตาของ Adverb Adjective กันต่อเลยดีกว่า ว่าเป็นยังไง

2.1 Adjectives

หลักการสังเกตคำ Adjectives ง่าย ๆ คือ การสังเกต Suffix หรือ ส่วนที่นำมาเติมเต็มด้านหลังของศัพท์ เพื่อให้ประเภทของคำเป็น Adjectives ซึ่งประกอบไปด้วย -able, -al, -ful, -ian, -ive, -less, -ous เป็นต้น

-able

Eatable (ทานได้), drinkable (ดื่มได้), washable (ซักได้), suitable (เหมาะสม), knowledgeable (มีความรู้)

-al

international (นานาชาติ), formal (อย่างเป็นทางการ), political (ทางการเมือง), seasonal (ตามฤดูกาล), original (ดั้งเดิม), national (ระดับชาติ)

-ful

powerful (เปี่ยมด้วยพลัง), Flavorful (รสจัด), meaningful (มีความหมาย), cheerful (ร่าเริง), wonderful (วิเศษ), beautiful (สวย)

-ian

Europian (ชาวยุโรป), Italian (ชาวอิตาลี่), Australian (ชาวออสเตรเลีย), Indian (ชาวอินเดีย)

-ive

effective (ที่มีประสิทธิภาพ), aggressive (ก้าวร้าว), imaginative (ที่มีจินตนาการ, เพ้อฝัน), talkative (คุยเก่ง), expensive (ราคาแพง), attractive (น่าดึงดูดใจ)

-less

fearless (ไร้ซึ่งความกลัว), meaningless (ไร้ซึ่งความหมาย), useless (ไร้ประโยชน์), homeless (ไร้บ้าน), worthless (ไร้ค่า), hopeless (สิ้นหวัง), effortless (ไร้ความพยายาม)

-ous

gorgeous (งดงาม), delicious (อร่อย), famous (ที่มีชื่อเสียง), dangerous (อันตราย), anonimous (ไม่ระบุตัวตน), generous (ใจกว้าง)

Adjectives บางตัวก็มาจากคำกริยา (Verb) ที่เติม -ed และ -ing ด้วย โดยส่วนใหญ่จะเน้นความรู้สึกของประธาน

เช่น interested (รู้สึกสนใจ) interesting (น่าสนใจ) /surprised (รู้สึกประหลาดใจ) surprising (น่าประหลาดใจ) /disappointed (รู้สึกผิดหวัง) disappointing (น่าผิดหวัง) รวมถึงกริยาช่องที่ 3 ไม่ว่าจะเป็น broken (แตกหัก), stolen (ที่ถูกขโมยไป), unknown (ที่ไม่เป็นที่รู้จัก) เป็นต้น

แต่ยังไม่หมเแค่นี้ เพราะจริง ๆ แล้ว Adjective ยังมีหน้าตาอื่น ๆ อีกมากมาย ให้เราได้ศึกษากันดู เช่น bad (แย่), kind (มีเมตตา), thin (ผอม), fat (อ้วน), light (สว่าง), dark (มืด), short (สั้น, เตี้ย), tall (สูง), long (ยาว), enough (เพียงพอ), better (ดีกว่า), important (สำคัญ), clear (ชัดเจน), full (เต็ม, อิ่ม), strong (แข็งแรง), weak (อ่อนแอ) เป็นต้น

2.2 Adverbs

มาถึง Adverbs กันแล้ว โดยทั่วไป ถ้าดูตามตำรา ก็จะสังเกตได้ว่า Adverbs จะลงท้ายด้วย -ly อยู่เสมอ โดยให้ความหมายว่า อย่าง …… เช่น correctly (อย่างถูกต้อง), very (มาก), bravely (อย่างกล้าหาญ), beautifully (อย่างงดงาม), certainly (อย่างแน่นอน), carefully (อย่างระมัดระวัง), truly (อย่างแท้จริง) และอื่น ๆ อีกมากมาก

แต่! Adjective บางตัว ก็ลงท้ายด้วย -ly เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น daily (ประจำวัน), elderly (ผู้สูงวัย, ชรา), friendly (เป็นมิตร) เป็นต้น เพราะฉะนั้น ต้องสังเกตดีๆ นะ

นอกจากนี้ Adjectives และ Adverbs บางตัว ยังสามารถใช้รูปเดียวกันได้ เพียงแต่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น fast (เร็ว, อย่างรวดเร็ว), little (เล็กน้อย), far (ไกล), near (ใกล้), enough (เพียงพอ), more (มากกว่า), most (มากที่สุด) เป็นต้น ขึ้นอยู่กับบริบท หรือรูปประโยคนั้นๆ ด้วย

3. ตำแหน่งการวาง Adjectives และ Adverbs

3.1 ตำแหน่งการวาง Adjectives

สำหรับ Adjective เป็นคำที่สามารถวางได้สองตำแหน่งคือ วางข้างหน้านาม (Adj + N) ที่ต้องการขยายและ วางไว้หลัง V to be (is, am, are, was, were, been) เพื่อบอกลักษณะประธาน หรือเพื่อบอกความรู้สึกของประธานนั่นเอง

ตัวอย่าง

  • The cat’s tail is long. = หางของแมวตัวนี้ยาวจัง
  • They are angry with our partner. = พวกเขาโกรธหุ้นของเรา
  • I am surprised with her marriage. = ฉันรู้สึกประหลาดใจกับงานแต่งของเธอ
  • The broken glass cannot be fixed. = แก้วที่แตกไปแล้วไม่มีทางต่อได้

3.2 ตำแหน่งการวาง Adverbs

Adverbs ก็สามารถวางได้หลายตำแหน่งในประโยค เพื่อขยายกริยาของประธาน ขยายคำคุณศัพท์ หรือขยายคำประเภทเดียวด้วยกันเอง ไปดูคำอธิบายกันเลย

          1) วางนำหน้าประโยค หรือท้ายประโยค เพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง หรือผู้อ่าน

Thankfully, the roads were free of rain and flood in that trip. = โชคดีที่ถนนไม่มีฝนตก และน้ำท่วมในทริปนั้น

          2) ขยาย Verb ด้วยการวางไว้หลัง Verb

Why do you always have to eat slowly? = ทำไมคุณถึงต้องกินช้าตลอดเลย

He sings beautifully. How does he sing? = เขาร้องเพลงเพราะมาก เขาทำได้ยังไงกัน

          3) วางหลัง V to be เพื่อขยาย Adjective หรือ Verb

The village was totally destroyed by the strom. = หมู่บ้านถูกทำลายราบคาบ เพราะพายุ

My mother is extremely scared because she saw a ghost last night. = แม่ของฉันกลัวมาก เพราะเธอเห็นผีเมื่อคืนนี้

          4) คำเฉพาะอย่าง well, badly, hard, fast ต้องวางจบท้ายประโยคเสมอ

This volleyball team played well. = ทีมฟุตบอลทีมนี้เล่นดีเลยทีเดียว

The students tried so hard for this examination. = นักเรียนพยายามอย่างหนัก เพื่อการสอบในครั้งนี้

          5) ถ้ามี Verb หลายตัว ต้องดูตำแหน่งให้ดี เพราะเวลาเปลี่ยนตำแหน่ง จะสามารถเปลี่ยนความหมายของประโยคได้เลย ซึ่งถ้าวางหน้าหรือหลัง Verb จะขยาย Verb แต่ถ้าวางไว้ท้ายประโยคจะขยายประโยคทั้งหมด

They slowly decided to leave the party. = พวกเขาค่อย ๆ ตัดสินใจที่จะออกจากงานเลี้ยงกัน (ขยาย Verb คำว่า decided)

She decided to leave the party slowly. = พวกเขาตัดสินใจที่จะออกจากงานเลี้ยงกันอย่างช้า ๆ (ขยาย Verb คำว่า leave party)

เห็นไหมว่าเรื่อง ความแตกต่างของ วิธีใช้ Adjective กับ Adverb  นี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เพียงแต่เราต้องอาศัยความรู้ด้านคำศัพท์ ในการแยกแยะประเภทคำให้ออก บวกกับการวางตำแหน่งและ การผสมคำให้คล่องมากขึ้น ถ้าได้ฝึกฝน ได้พูด ฟัง อ่าน และเขียนบ่อย ๆ ก็จะเข้าใจได้เอง รวมถึงการเสริมความรู้ผ่านการเรียนภาษาอังกฤษ ก็สามารถช่วยได้  

แต่ถ้าใครยังสับสน เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ให้ลองมาเรียนกับ 51Talk ด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อความเข้าใจ สนุก ด้วยระบบ Gamification และ Interactive ฉ่ำๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ในการนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเพื่อตัวเอง หรือเรียนเพื่อเจ้าตัวน้อยก็สามารถเรียนได้ สามารถรับสิทธิ์ ทดลองเรียนฟรี และวัดระดับภาษาได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่ต้องรีบหน่อยนะ เพราะสิทธิ์มีจำนวนจำกัด!