Children development

EF คืออะไร? มารู้จัก ทักษะสมองที่สำคัญของลูกน้อยอย่าง Executive Function กัน

EF คืออะไร?

EF คืออะไร? สำคัญต่อพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยอย่างไร ?

EF หรือ Executive Function คือ ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ตนต้องการสำเร็จ โดยมีชื่อเรียกในภาษาไทยได้หลายชื่อ เช่น ความสามารถในการจัดการ ทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย หรือ ทักษะการคิด ฯลฯ

แม้ว่าปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ตรงกันเรื่องหน้าที่ทั้งหมดของ EF แต่ส่วนใหญ่ก็สามารถรวบรวมข้อมูล และจำแนกประเภทของ EF ว่าประกอบไปด้วย 3 อย่างหลักๆ คือ

ทักษะ EF ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 

ทักษะ EF นั้น จะประกอบไปด้วยกลุ่มทักษะพื้นฐาน 3 กลุ่ม คือ

     • กลุ่มทักษะพื้นฐาน
     • กลุ่มทักษะด้านการควบคุมตนเอง
     • กลุ่มทักษะด้านการลงมือปฏิบัติ

ซึ่งทักษะ EF ทั้ง 3 กลุ่มนั้น จะจำแนกออกเป็นทักษะ EF 9 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

1.ทักษะ EF กลุ่มพื้นฐาน

     • Working Memory ทักษะการจดจำและนำไปใช้ คือการรับรู้ การเก็บข้อมูลจากสิ่งต่าง ๆ ที่พบในสภาพแวดล้อมของตนเองและผู้อื่น และนำข้อมูลที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทักษะนี้จะไม่ปรากฎเด่นชัดนักในเด็กเล็ก เพราะเด็กเกินกว่าที่จะจดจำเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงที่เรายังเล็กมาก ๆ ได้นั่นเอง

     • Impulse Control หรือ Inhibitory Control ทักษะในการควบคุมตนเอง การยับยั้งชั่งใจ การรู้จักไตร่ตรอง รู้จักที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำร้ายตนเองและผู้อื่น

     • Flexibility ทักษะในการปรับตัว การรู้จักหยืดหยุ่น ซึ่งทุกช่วงวัยนั้นจะต้องพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะนี้จะยังไม่พบในเด็กทารก เนื่องจากในวัยทารก การปรับตัวจะค่อนข้างจำกัด เพราะเด็กสามารถสื่อสารได้แค่เพียงการร้องไห้ การยิ้ม การหัวเราะเท่านั้น

2.ทักษะ EF กลุ่มควบคุมตนเอง

     • Attentional Control ทักษะในด้านการจดจ่อ ความสนใจ คือการเรียนรู้ที่จะพุ่งความสนใจไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำสิ่งนั้นจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่วอกแวกไปทางใดทางหนึ่งโดยง่าย

     • Emotional Control ทักษะในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก สิ่งนี้ไม่ใช่แค่การควบคุมอารมณ์โกรธหรือโมโห แต่ยังรวมถึงการรู้ว่าอารมณ์ขณะนั้นเกิดขึ้นจากอะไร เกิดขึ้นเพราะอะไร และจะจัดการได้อย่างไร

     • Self-Monitoring ทักษะในการประเมินตนเอง คือการรู้จักสังเกตตนเอง การรับรู้ขอบเขตความสามารถตนเองว่าทำสิ่งใดได้และสิ่งใดที่เกินกำลัง รู้ว่าจะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างไร เรียนรู้ที่จะปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น

3.ทักษะ EF กลุ่มลงมือปฏิบัติ

     • Planning ทักษะด้านการวางแผน มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนเพื่อดำเนินการให้เสร็จสิ้น  สามารถวิเคราะห์ขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงก่อนเวลาได้

     • Task Initiation ทักษะในการริเริ่มลงมือทำ การรู้จักริเริ่ม การระดมความคิดอย่างเสรี กล้าที่จะคิด กล้าที่จะลงมือทำและลงมือปฏิบัติทันที

     • Organization ทักษะด้านการบริหารจัดการ การรู้จักลำดับความสำคัญของสิ่งที่ได้รับมอบหมาย การวางแผน การลงมือดำเนินการจนสำเร็จ และประเมินผลลัพธ์

EF สำคัญต่ออย่างไร

มีหลักฐานทางการวิจัยที่ยืนยันว่าทักษะ EF เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จตลอดช่วงชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนที่ดี พฤติกรรมที่เหมาะสม สุขภาพจิต สุขภาพกาย รวมไปถึงการประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงานในอนาคต โดยหากดูตามช่วงอายุแต่ละวัยทักษะ EF จะช่วยในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้

• วัยเด็กทักษะ EF สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จด้านการเรียนเพราะเด็กใช้มันเพื่อจดจำเนื้อหาที่เรียน และประยุกต์ใช้ หลีกเลี่ยงต่อสิ่งเร้าที่จะทำให้ว่อกแว่ก และโฟกัสกับการทำงาน ปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบ แก้ปัญหาต่างๆ ได้เหมาะสม และทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลายาวนานได้ นอกจากเรื่องการเรียนแล้วยังช่วยเรื่องการเข้าสังคม เช่น การทำงานเป็นกลุ่ม ความเป็นผู้นำ กล้าคิดตัดสินใจ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง และทำงานจนบรรลุเป้าหมาย

• วัยผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่มีทักษะ EFดี มีแนวโน้มจะประสบผลสำเร็จทางด้านฐานะการเงิน และประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะมีความสามารถในการจัดระเบียบแบบแผนในชีวิต การวางแผนล่วงหน้า แก้ไขปัญหา การสื่อสาร และปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

ทำอย่างไรจึงจะมีทักษะ EF ที่ดี

ทักษะ EF ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาสมองของเราเพื่อให้เกิดทักษะ EF ซึ่งในวัยเด็กจะเป็นช่วงที่สมองพัฒนาทักษะ EF มากสุด โดยเฉพาะช่วงอายุ 3-5 ปี และจะพัฒนาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงผู้ใหญ่ตอนต้นจึงหยุดการเติบโต โดยสิ่งที่กระตุ้นให้สมองพัฒนาทักษะ EF คือ ประสบการณ์ชีวิตที่ได้รับในช่วงวัยเด็ก การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง (แน่นอนว่าคนที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่) การได้มีโอกาสเรียนรู้ เล่น หรือทดลองสิ่งต่างๆ ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะ EF เช่น การที่เด็กมีความเครียดหรือมีโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลต่อการทำงานของ EF โดยตรง

หากลูกมีทักษะ EF ต่ำ พ่อแม่สามารถช่วยลูกให้พัฒนาทักษะ EF ให้ดีขึ้นได้หรือไม่?

ทักษะ EF ที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นทักษะที่จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ดังน้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมช่วงที่ลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่ต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ และพัฒนาการที่สมวัย

ทั้งการกิน การนอน การเล่น การอ่าน การวาดภาพ การฝึกภาษาที่สอง เช่นการเรียนภาษาอังกฤษ และอีกมากมาย ยิ่งเด็กได้ทำกิจกรรมเสริมมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยเสริมสร้างทักษะ EF ให้เด็ก ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น

และด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับพัฒนาการของเด็ก 3-15 ปีโดยเฉพาะ ทำให้การเรียนกับ 51Talk มีประสิทธิภาพ ด้วยสื่อการสอนที่หลากหลาย และครูต่างชาติที่อบรมจิตวิทยาเด็ก ทำให้เด็กๆ ที่เรียนกับ 51Talk เก่งภาษาอังกฤษ และมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเช่นกัน ทดลองเรียนฟรี คลิกที่นี่เลย