5 Routine ต้องทำ เพื่อให้พูดอังกฤษแบบฉ่ำๆ เก่งๆ อย่างรวดเร็ว

5 Routine ต้องทำ ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษชนิด Speak English ฉ่ำๆ จนต่างชาติร้องว้าว ต้องทำอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย
1.Language Trigger (หาตัวนำกระตุ้นในการเรียนภาษา)
Trigger = ไกปืน หรือจะแปลว่า"ตัวกระตุ้น" ก็ได้ (“Pull the trigger” = เหนี่ยวไก)
ใครเคยได้ยินคำว่า “trigger words” กันบ้างหรือเปล่า?
“Trigger words” คือ คำบางคำที่กระตุ้นให้สะดุด รู้สึกจึ๊ก กระทำอะไรบางอย่าง
Language Trigger คือสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เรา เห็นแล้วรู้สึกอยากทำอะไรสักอย่าง เกี่ยวกับเกี่ยวกับภาษาในวันนั้น หรือตอนนั้น เช่น ไปเจอคำคมภาษาอังกฤษ แล้วจะเขียนไว้ใน post-it หรือเขียนเป้าหมายไว้บนผนัง แล้วค่อยๆ เปลี่ยน environment รอบตัวให้เต็มไปด้วยภาษาอังกฤษจนเราไม่รู้สึกว่าไกลตัวไปที่ไหนก็ทำให้ตัวเองได้นึกขึ้นถามตัวเองได้ว่า “วันนี้ฝึกหรือยัง?” “วันนี้ได้ฟัง ได้อ่าน ได้พูดอะไรเกี่ยวกับภาษาอังกฤษหรือยัง?” เช่น
- – เปลี่ยน wallpaper โทรศัพท์ เป็นพวก quotes ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ
- – เปลี่ยนภาษาในโทรศัพท์ให้เป็นภาษาอังกฤษ
- – เปลี่ยนคำที่อยู่ใน To do list หรือปฏิทินของเราให้เป็นภาษาอังกฤษ
- – เขียนคำศัพท์แปะของต่าง ๆ หันไปเจอ จะได้ทวนคำศัพท์เลย ทำให้มองตรงไหน จะทำอะไร ก็ได้เห็น ได้ทบทวน เราจะได้ฝึกภาษาได้ง่ายขึ้นในแต่ละวัน
2. Input (การเติมข้อมูลเข้าไป)
Receptive Skills คือทักษะในการรับข้อมูลพวก Listening and Reading ค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เราทำได้ปกติ ไม่ค่อยมีปัญหา ปัญหาอย่างเดียวคือ ฟังออก แต่จะรู้เรื่องหรือเปล่าอีกเรื่องนึง จนบางครั้งเราก็รู้สึกไม่สนุก เลยหยุดฟังกลางคัน
ฉะนั้น วันนี้เราจะพามารู้จัก
Personlized Input: เลือก Input ที่เราชอบมากที่สุด
เพราะ Input มีหลายรูปแบบ เช่น movie, music, variety shows, ted talk, podcast, internet meme, online article ให้ลองหาสิ่งที่เราชอบมากที่สุดที่เราสามารถดู “แม้” จะไม่ได้เข้าใจทั้งหมดทุกคำ 100%
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าชอบอันไหนมากที่สุด?
ดีที่สุดคือให้ช่างสังเกตและช่างสงสัย ให้ลองไปดูหลาย ๆ คลิป ดูหลาย ๆ อย่าง ลองอ่านหลาย ๆ แบบ จะได้เจอแบบที่เราน่าจะชอบเยอะขึ้น และจะทำเป็น Routine ได้ง่ายขึ้น
Consistent input: รับข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
Input คือฟังก็ดี หรืออ่านก็ดีเช่นกัน …แต่การมี Consistent input (ความสม่ำเสมอ) เนี่ยสำคัญกว่า ทำยังไงให้รับข้อมูลได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมากที่สุด
เพราะถ้าเราชอบมันมากพอ เราจะอยู่กับมันได้นานขึ้น สม่ำเสมอขึ้น และไม่หยุดไปเพียง เพราะไม่เข้าใจ 100%
ดังนั้นเลือก Input ที่เราชอบที่สุด และซึบซับ Input นั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ
3. Output (เอาข้อมูลมาใช้งาน)
Output คือการนำเอาสิ่งที่เราได้ Input เข้าไปในหัว ออกมาใช้สร้างภาษาออกไป ผ่าน Speaking หรือ Writing
ตัวอย่างการเอา Input ออกมาใช้เป็น Output เช่น
- ดูหนังมา >> ให้ลองเอาไปพูดกับเพื่อน
- อ่านคำคมในหนังสือ >> เอาไป post สเตตัส ทาง Social Media
- อ่านบทความ >> เขียนสรุป
4. Personal connection (หาความเชื่อมต่อมายังตัวเราเอง)
ยิ่งกว่า output คือ output ที่มี personal connection หรือให้ output ที่ออกมาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวของเรานั้นเอง
ซึ่งคนเราจะจำเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณได้ดีกว่าเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณเลย ได้มากกว่าถึง 50%
ยกตัวอย่างเช่น
- Input > เราดูหนังมา
- Output > เราเล่าเรื่องว่าหนังเรื่องนั้นมันเป็นยังไง
- Output with personal connection > เราเล่าว่าทำไมเราถึงชอบฉากนั้น ทำไมเราถึงชอบตัวละครนั้น
หรือ
- Input > เราไปฟัง TED talk มา
- Output > เราเขียนสรุปว่าเราฟังอะไรลงไป
- Output with personal connection > เราเขียนใน diary ว่าเนี่ยที่เราฟังไป จะเอาไปใช้กับชีวิตเรายังไงดี
5. Recall (ทบทวน)
เรียนอะไรมาแล้ว ก็ต้องมีการทบทวน แต่แอดมินมีเทคนิคที่จะทำให้เราทบทวนแล้วได้ผล จำได้นานขึ้นมาฝากค่ะ
นั้นคือเทคนิคทบทวนแบบ Spaced Repetition คือถ้าเราจะทวนอะไรก็ตามที่เราได้เรียนไป ให้ปล่อยช่วงเวลาไว้ซักหน่อย แล้วค่อยกลับมาทวนใหม่
จะให้ดียิ่งขึ้น ให้เราลงตารางไว้เลยค่ะ เช่น เรียนอะไรซักอย่างไปในวันนี้ ให้รออีกซัก 3 วัน 5 วัน และ 7 วันแล้วค่อยกลับมาทบทวนใหม่
หรือจะทำเหมือน Test ให้ตัวเองก็ได้เช่นกัน ลองตั้งคำถามกับตัวเองในประเด็นสำคัญของเรื่องนั้น ๆ ว่ายังจำได้อยู่มั้ยว่าเรียนอะไรไป
ลองเอา 5 อย่างนี้ ไปปรับใส่ใน Daily To do list ของตัวเราเองดูนะคะ 😀
ทำตามแล้วได้ผลอย่างไร สามารถมาแชร์ แบ่งปันประสบการณ์กันได้ค่ะ
แต่สำหรับใครที่ต้องการ Shortcut กว่านั้น สามารถเรียนภาษาอังกฤษด้วยหลักสูตรที่ออกแบบมาให้มีการรับรู้ ใช้งานและทบทวนโดยเฉพาะ ก็สามารถเรียนกับ 51Talk ได้ โดยกด ทดลองเรียนฟรี ได้เลย

